10 หลักการฝึกโยคะในทุกๆ วัน
อาสนะเป็นการฝึกโยคะทางกายภาพ แต่ยิ่งไปกว่านั้น มันถูกก่อตั้งขึ้นบนวิถีแห่งปัญญา มันขึ้นอยู่กับยามาส (คือสิ่งสําคัญทางจริยธรรมที่ยับยั้งความคิดของเรา) และที่ นิยามาส ด้วย (คือนิสัยการ กระทําที่ช่วยพัฒนาคุณ) การผสาน 10 หลักการนี้เข้าไปในชีวิตของคุณ จะทําให้ความคิด, คําพูด และการกระทําของคุณ คํานึงถึงส่วนรวม
หากคุณเป็นคนที่พึ่งเริ่มฝึกโยคะ คุณอาจจะรู้สึกถึงความยากลําบากของการฝึกฝน เราสร้าง Dharma Bums ตามปรัชญาของโยคะ แบรนด์ที่จะถือและส่งเสริมหลักการ 10 ข้อที่สามารถกําหนดความรู้เกี่ยวกับโยคะของคุณในทุกด้านของชีวิต
อหิงสา (AHIMSA)
หลักการนี้เรียกร้องให้เราไม่ทําอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น, สงบสุข, ใจดีและมีเมตตา นอกจากนี้ยังขอให้คุณไม่ขัดขวางการพัฒนาตนเองของผู้อื่นและตัวคุณเองด้วยการพูดในแง่ลบ, ตัดสินหรือสร้างความอับอาย ความกลัวที่ไม่ทราบความแตกต่างหรืออันตรายต่างๆ สามารถทําให้เกิดความรุนแรงได้และนําพลังงานด้านลบมาให้เราได้นําสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติโดยการยอมรับสิ่งที่คุณภาคภูมิใจ, ทําในสิ่งที่เราไม่เคยทําและใช้เวลาเข้าใจตัวเอง
ความจริงใจ (SATYA)
หลักการนี้ขอให้เราทุกคนใช้ชีวิตอยู่บนความจริง จริงใจต่อทั้งตัวเองและคนอื่น จงยอมรับสิ่งต่างๆ ที่กําลังถาโถมเข้าเพราะมันจะมีบทบาทต่อชีวิตเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่รู้สึกบายใจกับมันนัก แต่ในไม่ช้ามันจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของคุณ วิธีฝึกคือ หาคุณค่าของเรา และตระหนักถึงช่วงอารมณ์ที่ทําให้เราไม่มั่นคง
ความถูกต้อง (ASTEYA)
การใช้ชีวิตผ่านหลักการนี้ คือ ไม่ฉ้อโกง, ลักขโมย หรือ พยายามครอบครองในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่แค่เพียงสิ่งของเท่านั้น การขโมยความคิด, คุณค่า หรือ ความสําเร็จ ต่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ วิธีปฏิบัติคือ เป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
ปัญญา (BRAMACHARIA)
หลักการข้อนี้จะคอยย้ําเตือนถึงความสําคัญของสมดุล เราต่างเป็นมนุษย์ หาใช่เทวาไม่ นอกจากนี้เราไม่จําเป็นต้องรู้ทุกอย่าง เมื่อคุณรู้ขอบเขตของคุณ คุณจําเป็นต้องเปิดใจรับข้อจํากัดของคุณ
วิธีปฏิบัติคือ รู้จักตัวเองว่าที่จริงแล้วนั้น สิ่งใดคือสิ่งที่เราต้องการ
ความเรียบง่าย (APARIGRAHA)
หลักการนี้สอนให้เราใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พวกเราทุกคนต่างมีความเชื่อและพวกเราต่างผิดหวังกับสิ่งที่ตรงตามความต้องการของเรา แทนที่จะตัวเองไปยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ ลองปล่อยวางสิ่งเหล่านั้นเสีย หากความคิดของเราตีกรอบขึ้นมา เราก็ควรจะปล่อยมันเช่นกัน เราต่างควบคุมความคิดและการ กระทําของเราได้เอง เพราะฉะนั้นจงอย่ายึดติด
ละทิ้งความเป็นตัวเอง (SHAUCHA)
ปลดปล่อยความคาดหวังต่างๆ และอีโก้ของเราทิ้งไป ใช้เวลาจัดระเบียบชีวิตของเรา ทําให้ชีวิตของเราดีขึ้น เมื่อชีวิตเราดีขึ้นแล้ว เราก็พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่เข้ามา วิธีการฝึกคือทําสมาธิและค่อยๆจัดสรรตารางชีวิตของเรา
ความพึงพอใจ (SANTOCHA)
แทนที่จะจดจ่อกับสิ่งที่คุณขาด แต่จงขอบคุณสิ่งที่คุณมีและพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ รู้สึกแบบที่เรารู้สึกถึงแม้ว่าบางทีมันอาจจะไม่ทําให้เราพึงพอใจก็ตาม
การมีวินัยต่อตนเอง (TAPAS)
การมีเป้าหมายที่แน่นอนช่วยให้คุณมีระเบียบวินัย เมื่อคุณยอมรับสิ่งที่ทําให้คุณรู้สึกไม่สบายคุณสามารถเลือกที่เลือกได้ ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เราทําได้แค่เตรียมพร้อมและเมื่อถึงวันที่คุณอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้คุณก็จะเติบโตขึ้น ปฏิบัติโดยการทําสิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงจากความกลัว
การอ่าน (SAVADHYAYA)
เมื่อตัวตนของคุณถูกกําหนดโดยวัฒนธรรม, มิตรภาพ, การสูญเสีย และศาสนา คุณจะถูกบอกอยู่เสมอว่าควรใช้ชีวิตยังไงและต้องกลัวสิ่งใด จงตั้งคําถามกับสิ่งเหล่านั้น และศึกษาหาข้อมูล นําไปปฏิบัติโดยการสังเกตความคิดของคุณและถามสิ่งที่ทําให้พวกเขาภูมิใจในตัวคุณและสิ่งที่พวกเขาปรารถนาให้คุณ
ศรัทธา (ISHVARA-PRANIDHANA)
มันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่จะค้นหาสิ่งต่างๆ แทนที่จะมุ่งไปด้านหลังหรือข้างหน้า จงเชื่อว่าเอกภพนั้นเป็นแบบอย่างที่ควรจะเป็น การยอมแพ้ไม่ได้ทําให้รู้สึกดีขึ้น แต่ด้วยพลังงานที่ลดลงจากความกังวล คุณมีอิสระที่จะรู้สึกไม่สบายใจและเติบโตได้จากมัน
วิธีฝึกคือลองทําสมาธิสั้นๆ โดยโฟกัสเพียงแค่ลมหายใจ
เป็นไงบ้างกับหลักการฝึกโยคะทั้ง 10 หวังว่าจะได้ลองนำไปปรับใช้และฝึกฝนกันนะคะ ยิ่งฝึกมากปัญญาและจิตใจของเราก็จะยิ่งเฉียบคมขึ้น แต่ถ้ายังไม่มีแรงบันดาลใจในการฝึก ขั้นแรกและก้าวแรกเลยเเวะมาเยีย่มชม www.dharmaumsth.com และลองช็อปสินค้าโยคะ Activewear ของเราไปก่อน เพราะลายอันเป็นเอกลักษณ์ของเราก็สามารถช่วยฝึกสมาธิกับผู้ใช้ได้เหมือนกัน หรือถ้าอยากปรึกษาเรื่องโยคะลองแอด Line: @dharmabumsth มาคุยกับแอดมินเราได้